ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงผิดปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งบางคนที่เป็นความดันโลหิตสูงอยู่หลายปี อาจไม่มีอาการใดๆ จนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง ในบางรายอาจมีอาการปวดหัว เลือดกำเดาไหล หายใจไม่ทัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีก็ต่อเมื่อมีความดันสูงมากจนอยู่ในเกณฑ์อันตรายและอาจเสียชีวิตได้

บุคคลประเภทใดที่มักจะเป็นความดันโลหิตสูง
1. ส่วนมากมักพบได้ในผู้สูงอายุโดยเฉพาะอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป
2. พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวัยหมดประจำเดือนพบได้บ่อย
3. พบมากในคนอ้วน แต่คนผอมก็พบบ้างเหมือนกัน
4. อาจเนื่องจากกรรมพันธุ์ประมาณ 30-40 %
5. ในบุคคลที่มีอารมณ์รุนแรง เคร่งเครียด ตื่นเต้น ตกใจง่าย ดีใจง่าย เสียใจง่าย อารมณ์ที่เปลี่ยน แปลงรวดเร็วอาจจะกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราวในตอนแรก แล้วจะค่อยลดลงเอง แต่ถ้าเกิดบ่อยและนานเข้า ความดันโลหิตก็จะสูงอย่างถาวรซึ่งถ้าสูงมากก็เป็นอันตรายได้

ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ เพื่อรักษาให้ความดันเลือดลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ และเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ ให้แพทย์ตรวจและให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัว การใช้ยา แต่ผู้ป่วยก็ต้องปฏิบัติตัวเพื่อช่วยให้ความดันโลหิตลดลงได้ง่ายขึ้น คือ

1. การพักผ่อนต้องพักผ่อนทั้งทางร่างกายและจิตใจ พยายามควบคุมอารมณ์และจิตใจไม่ให้ตึงเครียด ขุ่นมัวและวู่วาม
2. คนอ้วนต้องลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. ระวัง อย่าให้หกล้ม หรือศีรษะ กระทบกระแทก เพราะอาจจะทำให้หลอดเลือดในสมองแตก เป็นอัมพาตได้
4. ไม่ควรวิตกกังวลหรือให้ความสำคัญกับระดับความดันโลหิตที่วัดไว้แต่ละครั้ง ความดันโลหิตในบุคคลเดียวกันเปลี่ยนแปลงได้เสมอตามภาวะแวดล้อมต่างๆ ในแต่ละวัน ควรให้แพทย์เป็นผู้ตัดสินว่า ระดับความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลง มีความสำคัญอย่างไรหรือไม่
5. ต้องควบคุมอาหาร

อาหารสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
1. หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัด เพราะเกลือทำให้ความตึงตัวของผนังหลอดโลหิตแดง เพิ่มขึ้น ทำให้ความ ดันเลือด Diastolic สูงขึ้น
2. อาหารพวกเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ด ซึ่งเป็นอาหารพวกโปรตีน ถ้าไตทำหน้าที่ได้ตามปกติก็ไม่ต้อง ลดลง แต่ถ้ามีอาการทางไตแทรกซ้อน ต้องลดโปรตีน
3. อาหารไขมันอยู่ระดับกลาง ค่อนข้างต่ำ ควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์และพวกกะทิ
4. อาหารหวานจัด เช่น ขนมหวานทุกชนิดพยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด เพราะจะทำให้น้ำหนักตัว และระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น
5. เครื่องดื่มต่างๆ เช่น ชา กาแฟ ซึ่งมีสารคาฟอีนสูง กระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น สูบฉีดโลหิตแรงขึ้น เป็นอันตรายสำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง
6. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว การไหลเวียนของโลหิตเร็วและแรงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักและแรงโลหิตจะพุ่งสูงขึ้นนับว่าเป็นอันตรายยิ่ง ควรงดเด็ดขาด และงดสูบบุหรี่

3 ท่าออกกำลังกาย
แนะนำสำหรับผู้ป่วยความดันสูง ปลอดภัย ออกทุกวัน ทำเป็นประจำช่วยลดความดันโลหิตสูง
1. หายใจ เข้า-ออก ลึกและยาว 5-10 ครั้ง
ก่อนเริ่มออกกำลังกายในท่าอื่น เผื่อไม่ให้เผลอกลั้นหายใจระหว่างออกกำลังกาย และยังช่วยพัฒนาเรื่องระบบไหลเวียนเลือด
2. ท่าเดินย้ำเท้าอยู่กับที่ 20-30 นาที
ช่วยระบบการไหลเวียนเลือด ให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย โดยไม่หนักและหักโหม ทำให้ผนังหลอดเลือดของคุณแข็งแรง
คำเตือน: ไม่เผลอกลั้นหายใจในระหว่างเดินย้ำเท้า
3. ท่าแกว่งแขน 500-1000 ครั้ง
ท่าที่ดูธรรมดานี้ กลับเป็นท่าออกกำลังที่คุณจะได้ทั้งหลัง ไหล่ อก แกนลำตัว และเป็นท่าที่คุณสามารถปรับเปลี่ยน ไปตามสภาพร่างกายของคุณได้ ยิ่งแกว่งแขนไปข้างหลังและแรงมากเท่าไหร่ แกนลำตัวจะทำงานหนักมากขึ้น เสมือนคุณได้ออกกำลังกายหนัก ๆ แต่อยู่ในท่ายืนแกว่งแขนนี้เท่านั้น

 

ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  tuttosulinux.com