เด็กฉลาด กับความเชื่อที่ว่า เด็กมีพัฒนาการเร็วจะฉลาด-พัฒนาการช้าจะโง่

เด็กฉลาด กับความเชื่อแต่โบราณ เด็กพูดก่อนเดินจะฉลาด หรือเด็กพัฒนาการเร็วจะฉลาด พัฒนาการช้าจะโง่ เป็นที่ปรารถนาของคุณพ่อคุณแม่ทุกๆ คน ที่จะให้ลูกเติบโตเป็นเด็กเก่ง ฉลาด เป็นเด็กดี มี IQ และ EQ ที่ดี พัฒนาการทางสมองขึ้นกับหลายๆ ปัจจัย ทั้งทางด้านพันธุกรรมจากพ่อแม่ การเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม สมองเริ่มมีการพัฒนาการตั้งแต่ช่วงอยู่ในท้องคุณแม่ สมองเริ่มมีการพัฒนาการตั้งแต่ช่วงอยู่ในท้องคุณแม่ แนะนำตั้งครรภ์คุณแม่ควรฝากท้องอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้พอ

เด็กฉลาด ประเมินพัฒนาการได้ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 6 ปี

ช่วงแรกเกิดถึง 5 ปีสมองจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าเด็กวัยอื่น ช่วงวัยเด็กจึงจัดเป็นช่วงเวลาสำคัญในการสร้างรากฐานที่ดี สมองในส่วนของการเรียนรู้จะพัฒนาการต่อไปไม่มีวันหยุด การเลี้ยงดูที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยตั้งแต่ในวัยทารก การส่งเสริมพัฒนาการด้านการด้านประสาทสัมผัสด้านการได้ยินและการมองเห็น การโอบกอดลูก หรือใช้ของเล่นกระตุ้นเรื่องเสียง สี การเสริมสร้างประสบการณ์ความรู้ให้เหมาะกับวัย ในเด็กโตที่เริ่มสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว ของเล่นก็ควรโตขึ้นเหมาะกับวัย การสร้างเสริมพัฒนาการผ่านการเล่น

ในเด็กเล็กน้อยกว่า 6 ปีการประเมินพัฒนาการจะประเมินตามอายุ เช่น ชันคอ นั่ง ยืน เดิน การพูดคำแรก การหยิบจับของ โดยพัฒนาการควรเป็นตามอายุ การวัดความฉลาดทางปัญญาหรือ IQ แพทย์จะทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ เช่น เด็กเรียนแล้วมีปัญหา เรียนไม่รู้เรื่อง เรียนช้า เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยทดสอบการเรียนรู้ของสมอง หากเด็กมี IQ สูง พ่อแม่เก่งมียีนที่ดี หรือเด็กที่มีพัฒนาการเร็วช่วงเด็ก แต่ต่อมาเด็กขาดการกระตุ้น ติดเกมส์ หากไม่แก้ไข โตขึ้นก็อาจกลายเป็นเด็กที่มีปัญหาได้ หากสงสัยว่าลูกมีพัฒนาการช้า ไม่เป็นไปตามวัย แนะนำให้ไปพบแพทย์

เด็กฉลาด มีเคล็ดลับวิธีพัฒนาสมองได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ 

ลูกน้อยจะฉลาดได้ สมองของเค้าสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่อยู่ท้องแม่แล้ว โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนก่อนคลอด อารมณ์ความรู้สึกของแม่มีผลกระทบถึงลูกในท้องได้ด้วย  พ่อแม่สามารถกระตุ้นสมองของลูกด้วยการเริ่มอ่านหนังสือให้ลุกฟัง พูดคุยกับลูกในท้อง ในช่วง 6 เดือน เป็นช่วงที่เด็กสามารถจดจำใบหน้าของคนได้แล้ว พ่อแม่สามารถกระตุ้นด้วยการให้ลูกได้เห็นใบหน้าบ่อยๆ พูดคุยและกระตุ้นการมองเห็นของลูก โดยอาจใช้ของเล่น โมบาย หรือหนังสือ เสียงเป็นปัจจัยในการกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของเด็กได้ด้วย หากบรรยากาศเงียบจนเกินไป อาจส่งผลเสียให้กับเด็กด้วยซ้ำ เมื่อถึงวัยที่เริ่มคลาน เด็กจะสนใจของเล่นมากขึ้น การให้ของเล่นแก่เด็กในวัยนี้ มีข้อควรระวังในเรื่องของความปลอดภัยเพราะเป็นวัยที่มักหยิบของเข้าปาก

ฝึกสมองของลูกวัย 1-2 ปี “ลองผิดลองถูกคือการเรียนรู้ที่มีค่ามหาศาลสำหรับลูกวัยนี้”

  • การพัฒนาสมองของเด็กในช่วงวัยนี้ทำได้โดย ฝึกให้เด็กหยิบจับสิ่งของด้วยตนเอง โดยสิ่งของเหล่านั้นต้องไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็ก  ควรหัดให้เด็กได้ลองผิดลองถูก การทดลองทำนั้นเป็นการเรียนรู้ที่มีค่ามหาศาล
  • สมองของเด็กวัย 1 ปี พร้อมที่จะจำตัวอักษรต่างๆ พอๆ กับการฟังและเข้าใจภาษาได้หลายภาษา สมองของเด็กในวัยนี้ จะรับความรู้ต่างๆ ได้ง่าย ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อถอยหมดกำลังใจในการเรียนรู้ เราจึงสามารถสอดแทรกการสอนอ่านหนังสือและการพูดไปพร้อมๆ กันได้
  • สมองของคนเรามีลักษณะพิเศษที่ต่างจากอุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆ คือ ยิ่งใส่ความจำเข้าไปมากเท่าใด สมองก็จะยิ่งแสดงผลได้ดีขึ้น สถาบันวิจัยด้านสมองหลายสถาบันมีข้อมูลยืนยันว่า สมองของคนเรานั้นมีความสามารถในการจดจำที่มากกว่าคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ ในโลก
  • พ่อแม่อย่ากังวลไปว่าการให้ลูกเรียนรู้มากเกินไป จะทำให้สมองลูกรับไม่ได้เพราะเรื่องการให้ความรู้มากเกินไปนั้น ไม่น่าห่วงเท่าการละเลย หรือการให้น้อยจนเกินไป

ฝึกสมองของเด็กวัย 2-6 ปี “ความคิดสร้างสรรค์ มีความสำคัญกับเด็กวัยนี้”

  • ร่างกายของเด็กวัยนี้มีความแข็งแรงมากขึ้น สามารถเดินและวิ่งได้ เริ่มเข้าสังคมเป็น ชอบทำกิจกรรมต่างๆ ชอบเล่นกับเพื่อน ช่างสงสัย ชอบถาม เพราะต้องการจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
  • การต่อไม้บล็อก การเล่นต่อภาพหรือ่านหนังสือ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษา รู้จักความหมายของสิ่งต่างๆ มากขึ้น สามารถแยกความแตกต่าง และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสมองของเด็ก
  • การส่งเสริมเรื่องจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กในวัยนี้ก็มีความสำคัญและเป็นวัยที่เหมาะสมที่สุดในกรพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ หากเด็กได้รับการส่งเสริมในเรื่องจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในช่วงนี้อย่างดีแล้ว เขาก็จะมีความคิดสร้างสรรค์ติดตัว และสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

เด็กอัจฉริยะคืออะไร และจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นเด็กอัจฉริยะ

เด็กอัจฉริยะ หมายถึงเด็กที่มีความสามารถเหนือกว่าเด็กที่อยู่ในวัยเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด การเป็นอัจฉริยะนั้น อาจจะมีลักษณะที่โดดเด่นในทุกๆ ทาง หรือโดดเด่นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เช่น ทางด้านสติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำ ความสามารถทางด้านกีฬา หรือทักษะความรู้ทางวิชาการด้านใดด้านหนึ่ง เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาตรส์ ภาษาศาสตร์ หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีลักษณะของเด็กอัจฉริยะ ก็อาจจำเป็นต้องวางแผนการสนับสนุนเลี้ยงดูลูก เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็กโดยเฉพาะ

การจะบ่งบอกจำนวนของเด็กอัจฉริยะทั่วโลกนั้นคงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเกณฑ์การวัดที่จะบ่งบอกว่าเด็กคนไหนเป็นอัจฉริยะหรือไม่นั้น อาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ เด็กอัจฉริยะแต่ละคนใช่ว่าจะมีการแสดงออกที่เหมือนกัน พรสวรรค์นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน ไม่ว่าจะมีนิสัยหรือพฤติกรรมแบบใดก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือการที่พ่อแม่ควรรับรู้ว่าลูกของตัวเองเป็นเด็กอัจฉริยะ เพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนลูกให้ดีที่สุด

ลักษณะของเด็กอัจฉริยะนั้นอาจจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างง่ายๆ เนื่องจากเด็กแต่ละคนก็จะมีการแสดงออก ลักษณะนิสัย การจัดการกับปัญหา และการแสดงอารมณ์ที่แตกต่างกันไป พ่อแม่อาจสามารถให้ลูกทำการทดสอบ IQ เพื่อวัดความฉลาดทางทางสติปัญญาได้ แต่ค่า IQ นี้ก็ไม่ใช่ตัวการที่จะวัดว่าลูกเป็นเด็กอัจฉริยะหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่จะต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ความเป็นอัจฉริยะนั้นไม่ใช่ผลทางสถิติ แต่อยู่ที่การแสดงออก การทดสอบวัดความสามารถเพียงครั้งหนึ่ง ไม่สามารถระบุได้ว่าลูกเป็นอัจฉริยะหรือไม่ แต่ความเป็นอัจฉริยะนั้นจะแสดงออกมาผ่านทางการกระทำ ความคิด คำพูด และการแสดงออกต่างๆ

เด็กฉลาด

ลักษณะเด็กอัจฉริยะที่พบได้บ่อย

  • สามารถเรียนรู้คำศัพท์ และจดจำคำศัพท์ใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
  • เด็กมักจะพูดเร็ว
  • สามารถสร้างประโยคยาว ๆ และซับซ้อนได้ตั้งแต่อายุยังน้อย
  • อ่านออก เขียนได้ ตั้งแต่อายุน้อย เด็กอัจฉริยะหลายคนมักจะสามารถอ่านหนังสือได้ตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน
  • ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เห็น ได้ยิน หรือพบเจอบ่อยครั้ง
  • สามารถทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามขั้นตอนที่ยุ่งยากได้ตั้งแต่ยังเด็ก
  • สามารถทำความเข้าใจกับบทสนทนาของผู้ใหญ่ได้
  • เรียนรู้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
  • มักจะจดจ่อกับเรื่องที่ตัวเองสนใจเป็นพิเศษได้เป็นเวลานาน
  • มีความจำเป็นเลิศ
  • มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตัวเอง
  • มักจะคุ้นเคยกับผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีอายุมากกว่าตัวเอง มากกว่าที่จะสนิทกับเด็กวัยเดียวกัน
  • ชอบอยู่คนเดียว สนใจกับสิ่งที่ตัวเองชอบ

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเด็กอัจฉริยะ

ความเชื่อที่ 1 เด็กอัจฉริยะ ไม่จำเป็นต้องรับการช่วยเหลือ พวกเขาดูแลตัวเองได้

พ่อแม่บางคนอาจจะคิดว่าถ้าลูกเป็นอัจฉริยะ ก็ไม่จำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะยังไงพวกเขาก็เก่งอยู่แล้ว แต่จริงๆ แล้วเด็กที่มีพรสวรรค์เหล่านี้ ยังต้องได้รับคำแนะนำ การชี้ทาง และการฝึกฝนอยู่อีกมาก ถึงจะสามารถแสดงออกถึงความสามารถออกมาได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ เด็กอัจฉริยะยังอาจต้องได้รับการดูแลด้านการเรียนรู้เป็นพิเศษ เพราะหากปล่อยให้เด็กเรียนในโรงเรียนตามปกติ เด็กอัจฉริยะเหล่านี้มักจะก้าวหน้าไปไกลกว่าเพื่อนในวันเดียวกัน และเรียนรู้เนื้อหาต่าง ๆ ไปก่อนล่วงหน้า จนทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนรู้ได้ ความเบื่อหน่ายเหล่านี้อาจนำไปสู่การไม่ประสบความสำเร็จในอนาคตได้

ความเชื่อที่ 2 เด็กที่เป็นอัจฉริยะจะมีผลการเรียนสูงเสมอ

หลายคนมักจะยึดติดกับภาพลักษณ์ที่ว่า เด็กอัจฉริยะ คือเด็กที่เรียนเก่ง มีความรู้เยอะ ได้คะแนนสูง แต่จริง ๆ แล้วความอัจฉริยะนั้นมีอยู่หลากหลายด้านแตกต่างกันไป เด็กบางคนอาจจะเชี่ยวชาญทางด้านอื่น ที่ไม่สามารถวัดได้ด้วยความรู้ทางวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในขณะเดียวกัน เด็กอัจฉริยะที่เชี่ยวชาญทางด้านวิชาการ หากไม่ได้รับการดูแลและจัดการกับบทเรียนให้เหมาะสม อาจจะทำให้เด็กไม่สนใจที่เรียน ปรับตัวได้ช้า และส่งผลต่อผลการเรียนได้ในที่สุด

ความเชื่อที่ 3 เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ไม่สามารถเป็นอัจฉริยะได้

หลายคนอาจจะเข้าใจว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นเด็กพิการทางสมอง ไม่สามารถจัดให้เข้ามาอยู่ในกลุ่มเด็กอัจฉริยะได้ ความจริงแล้ว มีเด็กอัจฉริยะหลายคนที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้ หรือมีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ แต่มีความสามารถทางด้านใดด้านหนึ่งดีเด่นเป็นพิเศษ แต่ความสามารถเหล่านี้มักจะถูกปัญหาทางการเรียนรู้ปกปิดไว้ คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักสังเกตถึงศักยภาพของลูก และช่วยสนับสนุนให้ลูกได้แสดงความสามารถให้เหมาะสมกับพรสวรรค์ของตัวเอง

พ่อกับแม่จะช่วยสนับสนุนเด็กอัจฉริยะได้อย่างไร

  • สำหรับการสนับสนุนที่บ้าน

พ่อและแม่อาจจะพยายามคอยสังเกตความชอบและความต้องการของลูก ให้โอกาสลูกได้แสดงออก ช่วยลูกฝึกทักษะการเรียนรู้ต่าง ๆ และให้ลูกได้มีโอกาสทดลองสิ่งใหม่ ๆ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาษา การประดิษฐ์ การทำอาหาร ฟังเพลง เต้น หรือการออกแบบ ให้เด็กได้ค้นพบ และคอยชี้แนะหากลูกทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือช่วยลูกแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด พ่อแม่ควรเปิดกว้าง ทำความเข้าใจและยอมรับฟังความเห็นของลูก

  • สำหรับการสนับสนุนที่โรงเรียน

หากลูกมีลักษณะของเด็กอัจฉริยะ พ่อแม่ควรทำความเข้าใจกับสิ่งที่ลูกสนใจและมีพรสวรรค์ ก่อนจะเลือกโรงเรียนที่เหมาะสมกับความสามารถของลูก เช่น หากลูกมีพรสวรรค์ทางด้านดนตรี ควรเลือกโรงเรียนที่โดดเด่นทางด้านการเรียนการสอนดนตรี หรืออาจจะหาครูสอนพิเศษมาช่วยพัฒนาความสามารถของลูก ในขณะเดียวกัน พ่อและแม่ควรจะพูดคุยกับทางโรงเรียน เพื่อทำความเข้าใจในการรับมือกับเด็กที่เป็นอัจฉริยะ และเพื่อให้มั่นใจว่าโรงเรียนจะสามารถให้การดูแลลูกได้อย่างเหมาะสม

แม้ว่าการให้เด็กอัจฉริยะเรียนรวมกับเด็กปกติอาจส่งผลกระทบความสามารถทางการเรียนรู้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะให้แยกเด็กอัจฉริยะไปอยู่คนเดียวเสียเลย เพราะเด็กเหล่านี้ยังต้องได้รับโอกาสในการเข้าสังคม และฝึกฝนการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้สามารถเติบโตมาและใช้ชีวิตได้ตามปกติในสังคม

 

ที่มา

https://www.babimild.com/

https://www.s-momclub.com/

https://hellokhunmor.com/

https://www.istockphoto.com/1292002142-386952563

https://www.istockphoto.com/1292002113-386952562

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่  tuttosulinux.com