แพทย์ทางไกล

รวมแอพฯ เพิ่มทางเลือก รับบริการการแพทย์ ด้วย ‘แพทย์ทางไกล’ ในไทย

แม้ว่าในปัจจุบัน การแพทย์ทางไกลนั้น จะยังไม่สามารถ เข้ามาทดแทนการรักษา ในสถานพยาบาลได้ก็ตาม แต่สิ่งนี้ ก็ถือเป้นตัวเลือกใหม่ๆ ที่ค่อนข้างดี สำหรับผู้ป่วยจะได้ใช้รักษาอาการเจ็บ และดูแลสุขภาพได้ ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องเดินทางไปรอคิวรักษา ให้เสียทั้งเงิน และเวลา ทำให้ผู้ป่วยในต่างจังหวัด สามารถเข้าถึง การรักษาได้มากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ยังช่วยลดภาระของเหล่า บุคลากรทางการแพทย์ได้อีกด้วย และวันนี้เราจึงขอถือโอกาส ในการแนะนำเหล่า แอพพลิเคชั่น ที่ใช้เพื่อให้บริการ การแพทย์ทางไกล โดยเปิดบริการแล้วในเมืองไทย และนี้ก็คือตัวอย่างอันเป็น รูปธรรม ของการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุคใช้เพื่อข่วยเหลือชีวิต ของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น

ChiiWii เปิดให้บริการปี 2560 บริการ: ให้คำแนะนำด้านสุขภาพ (เน้นสุขภาพผู้หญิง แม่และเด็ก สุขภาพจิต และการดูแลสุขภาพกายของคนในครอบครัว) อัตราค่าบริการ: มีหลายแพ็คเกจ ขั้นตอนการให้บริการ: ค้นหาหมอ ทำนัดหมาย แล้วเลือกรับบริการผ่านแชท โทรศัพท์ หรือ vdo call

ที่มา: เว็บไซต์ทางการระบุว่า เห็นข้อมูลการแพทย์ที่ท่วมออนไลน์แล้ว ไม่แน่ใจว่าอันไหนจริง-เท็จ ความเชื่อ หรือโฆษณา จึงทำเว็บบอร์ดขึ้นมาถามตอบปัญหาสุขภาพ ก่อนจะพัฒนาเป็นแอพฯ

แพทย์ทางไกล
See Doctor Now

เปิดให้บริการปี 2560 บริการ: ปรึกษาแพทย์ อัตราค่าบริการ: รายปี 2,990 ปี ไม่จำกัดครั้ง รายครั้ง 490 บาท/10 บาท ขั้นตอนใช้บริการ: พิมพ์บอกอาการเบื้องต้น คุยกับพยาบาลวิชาชีพที่จะเลือกแพทย์ที่เชี่ยวชาญให้ผ่าน vdo call หลังจากนั้นจะมีการสรุปข้อมูลอาการเจ็บป่วยพร้อมคำแนะนำ

ที่มา: เว็บไซต์ทางการให้ข้อมูลว่า จากงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์แผนกฉุกเฉินราว 70% ไปโดยไม่จำเป็น / ให้การปรึกษาแพทย์ทำได้ง่ายขึ้น ทุกที่ทุกเวลา / วางตัวเองเป็น ‘ผู้ช่วยเพิ่มเวลา’ ให้กับแพทย์’ ทำงานได้จากบ้านไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง

Ooca

เปิดให้บริการปี 2560 บริการ: ปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา อัตราค่าบริการ: เริ่มต้น 1,000 บาท/30 นาที ขั้นตอนการให้บริการ: นัดวันเวลาที่สะดวก ผู้ให้บริการจะติดต่อไปผ่าน vdo call ที่มา: ทพญ.กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ ผู้ก่อตั้งบอกว่า Ooca เกิดขึ้นมาได้ เพราะมีกำแพงใหญ่กั้นระหว่างประชาชนกับจิตแพทย์ เลยอยากทำช่องทางให้การเข้าถึงบริการสุขภาพจิตง่ายขึ้น

Raksa

เปิดให้บริการปี 2561 บริการ: ปรึกษาแพทย์ อัตราค่าบริการ: ตามระยะเวลาที่ขอปรึกษาแพทย์ 15 นาที 30 นาที 45 นาที 60 นาที ขั้นตอนการให้บริการ: ดูว่าหมอคนไหนออนไลน์ทักเข้าไปขอคำปรึกษาได้ทันที (แยกความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ เช่น สูตินารีแพทย์ กุมารแพทย์ อายุรแพทย์) หรือถ้าหมอที่อยากพบออฟไลน์อยู่ก็นัดหมายเวลาได้ /

รูปแบบการขอคำปรึกษามีทั้งแชท โทรคุย vdo call / มีบทความเกี่ยวกับสุขภาพ และให้บริการซื้อยาส่งถึงบ้านภายใน 2 ชั่วโมง ที่มา: กวิน อัศวานันท์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า ตามสถิติผู้ป่วย 40% ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาลด้วยซ้ำ หมอจำนวน 3 หมื่นคนมีเวลาไม่พอจะตรวจคนไข้ทั้งหมด คนไทยบางส่วนชอบใช้วิธีค้นหาชื่อโรคจากอินเทอร์เน็ตซึ่งอาจผิดพลาด จึงใช้เทคโนโลยีมาช่วย

Doctor A to Z

เปิดให้บริการปี 2562 บริการ: ปรึกษาแพทย์ นัดหมายโรงพยาบาลและบริการทางการแพทย์อื่นๆ อัตราค่าบริการ: เฉพาะปรึกษาแพทย์มีแพ็คเกจ 3 ครั้ง/750 บาท 7 ครั้ง/1,500 บาท 12 ครั้ง/2,500 บาท ขั้นตอนการให้บริการ: นัดหมายรับบริการที่โรงพยาบาล หรือนัดหมายหมอเพื่อ vdo call ปรึกษาอาการเจ็บป่วย โดยจะต้องกรอกอาการป่วยแล้วรอหมอติดต่อกลับ

ที่มา: นพ.อนุชา พาน้อย ผู้ก่อตั้ง มีความตั้งใจ อยากให้ทุกคนมี ‘โอกาส’ เข้าถึงแพทย์ได้ดีที่สุด ง่ายที่สุด รวดเร็วที่สุด และไม่มีค่าใช้จ่ายที่มากเกินไปโดยใช้เทคโนโลยี

Samitivej Virtual Hospital

เปิดให้บริการปี 2562 บริการ: ให้คำแนะนำและบริการทางการแพทย์ (ไม่ถือเป็นการรักษา) อัตราค่าบริการ: 500 บาท/15 นาที ขั้นตอนใช้บริการ: ไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า พบพยาบาลประเมินอาการ แล้วค่อยพบแพทย์เฉพาะทางผ่านทาง vdo call ไม่จำเป็นต้องเป็นคนไข้ของ รพ.สมิติเวชมาก่อน / มีบริการจัดส่งยาผ่าน LINE MAN ถึงบ้าน และบริการเจาะเลือดนอกสถานที่

ที่มา: นำเทคโนโลยีมาช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ real-time มุ่งให้เกิดความสะดวกสบายสำหรับผู้รับบริการเป็นสำคัญ

Doctor Anywhere Thailand

เปิดให้บริการปี 2563 บริการ: ปรึกษาแพทย์ ขั้นตอนใช้บริการ: วางตัวเองเป็น ‘คลินิกออนไลน์’ ปรึกษาแพทย์ที่ออนไลน์อยู่ตอนนั้น หรือนัดหมายแพทย์ที่ออฟไลน์ภายหลัง ผ่านทาง vdo call และรับยาภายใน 3 ชั่วโมง (สำหรับผู้ป่วยในเขต กทม.) ถ้าอาการหนักแพทย์จะแนะนำไปให้โรงพยาบาล ที่มา: สตาร์ตอัพสิงคโปร์มาลงทุนในไทย

Siriraj Connect

เปิดให้บริการปี 2563 บริการ: พบแพทย์ออนไลน์ (ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยที่นัดติดตามอาการต่อเนื่องเท่านั้น) อัตราค่าบริการ: เช่นเดียวกับการมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช ยกเว้นถ้ามีจัดส่งยาทางไปรษณีย์เสียเงินเพิ่ม 150 บาท ขั้นตอนใช้บริการ: แอดไลน์โรงพยาบาลศิริราช แล้วรอแพทย์ติดต่อด้วย vdo call หาผ่านไลน์

จะได้คุยกับแพทย์ที่ห้องตรวจ 1 ครั้ง กรณีมีการจ่ายเงินจะได้คุยกับเภสัชกรอีก 1 ครั้ง ที่มา: เริ่มทดลองใช้ในช่วง COVID-19 เพราะการเดินทางมาโรงพยาบาลอาจมีความเสี่ยงทำให้ติดเชื้อ ทั้งนี้ ในปี 2563 แพทยสภาได้ออกประกาศมากำหนดเกณฑ์ การให้บริการการแพทย์ทางไกล หรือโทรเวช (telemedicine) และคลินิกออนไลน์

ขณะที่คณะอนุกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร เพิ่งเชิญผู้เกี่ยวข้องไปหารือถึงอนาคตของ telemedicine ในไทย โดยว่ากันว่า ในอนาคตอาจจะมีการออกกฎหมายว่าด้วย ‘การแพทย์ทางไกล’ หรือ telemedicine โดยเฉพาะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : thematter.co

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ :